.

ร่วมมือกับเรา

ในการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นที่รู้จัก และก้าวไปสู่ความเป็นแนวหน้าในระดับสากล ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จะต้องแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันคณะฯ ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) กับสถาบันต่างประเทศมากมายทั้งในและต่างประเทศ ทั่วทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีกิจกรรมด้านวิเทศสัมพันธ์มากมาย อาทิ โครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากสถาบันและองค์กรต่างๆ มาบรรยายพิเศษ ร่วมสอน ร่วมวิจัย และเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม โครงการจัดการประชุมสัมมนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษาเพื่อทำวิจัย ฝึกอบรม ดูงาน และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โครงการทำวิจัยและตีพิมพ์ผลงานร่วมกันระหว่างคณาจารย์ภายในคณะฯ กับคณาจารย์ต่างสถาบันทั้งในและต่างประเทศ

  • ความร่วมมือกับสถาบันในประเทศ
  • ความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ

PACCON2020 is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged. It was popularised in the 1960s with the release of Letraset sheets containing Lorem Ipsum passages, and more recently with desktop publishing software like Aldus PageMaker including versions of Lorem Ipsum.

บริษัทเคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. วาทิต ตมะวิโมกษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย เรื่อง “สูตรและกรรมวิธีการผลิตไรซ์เบอร์รี่สเปรด” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทีมบริหาร คณาจารย์ ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และนักวิจัยเข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ อาคารโดมบริหาร ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

บริษัท Feed Ingredients Trading Business Group (C.P. Group) จำกัด  วันที่ 24 ก.พ. 63 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จัดงานสัมมนา เรื่อง Democratizing A.I. – How a computer scientist can help narrow social inequality โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรจากบริษัท Feed Ingredients Trading Business Group (C.P. Group) จำกัด มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล เพื่อพัฒนาโมเดลวิเคราะห์ผลกระทบต่อ supply&demand ของสินค้าเกษตร