เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ SCI-TU

สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 50 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทย์-คณิต)

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า       102 หน่วยกิต
      • วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์    12 หน่วยกิต
      • วิชาบังคับ                        72 หน่วยกิต
      • วิชาโท หรือ วิชาเลือก     18 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เทอม)

สถานที่ศึกษา:

สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

บูรณาการองค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)

คำอธิบายหลักสูตร

ประยุกต์ผสมผสานความรู้สหวิทยาการ (Interdisciplinary) เพื่อการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสนับสนุนการจัดการชุมชนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและนานาชาติ (SDGs) ในการจัดการกายภาพชุมชนและที่อยู่อาศัย (โยธาและผังเมือง) การจัดการทรัพยากรการเกษตร จัดการพลังงานชุมชน เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) นับเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกมีการแข่งขันทางความรู้และเทคโนโลยีสูงขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งมากขึ้น เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยเสริมสร้างพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ทำให้ประเทศไทย ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้นและมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้ และการกระจายเทคโนโลยีจากศูนย์กลางไปสู่ภูมิภาคและชนบท ที่ผ่านมา มักจะขาดการวิเคราะห์ ประเมิน การดัดแปลงประยุกต์ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา และการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมทำให้การพัฒนาประเทศไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เกิดความสูญเปล่าและผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวม การแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและจัดการเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม สามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและประยุกต์เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของสังคมไทย บนฐานของภูมิสังคม ภูมิปัญญา และสร้างความสมดุลในการพัฒนาที่นำไปสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนของประเทศ

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเกษตร เทคโนโลยีพลังงาน การจัดการพลังงาน ภูมิสารสนเทศ สถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง เศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ เป็นต้น

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์
  • นักวิจัยและนักวิชาการด้านการพัฒนา
  • พนักงานราชการ พนักงานท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว เช่น  บริษัทรับออกแบบระบบจัดการน้ำในสวน
  • ลูกจ้างตามสถานประกอบการ เช่น ผู้แทนขายอุปกรณ์และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์
  • อาชีพอิสระ

สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมเพื่อการพัฒนายั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรม ที่สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัย และสนองต่อการพัฒนาประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืนน้อมนำศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานในการพัฒนาหลักสูตร โดยบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่างๆทั้ง ด้านโยธาและผังเมือง เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระบบการเกษตรและการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นการนำองค์ความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ของสาขา ฯ ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชน อันเป็นฐานสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จำเป็นและสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน สร้างทักษะการบูรณาการความรู้หลายศาสตร์ในเชิงรุกให้สามารถตอบสนองต่อความความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ และ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainabledevelopment goals : SDGs)

หากเรียนจบสาขานี้สามารถทำงานในหน่วยงานภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และภาคราชการ ที่ระบุความต้องการบุคลากร ที่สอดคล้องกับความรู้และทักษะ ใน 4 ด้าน คือ

  • หมวดวิชาโยธาและผังเมือง
  • หมวดวิชาการจัดการพลังงาน 
  • หมวดวิชาภูมิสารสนเทศ (รีโมทเซนซิง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่) 
  • หมวดวิชาการจัดการทรัพยากรการเกษตร 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิชาการจัดการและบูรณาการสำหรับเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะและความชำนาญในการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4) ตามความเชี่ยวชาญเพื่อการศึกษาวิจัยใน 4 ด้าน คือ นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4) ตามความเชี่ยวชาญเพื่อการศึกษาวิจัยใน 4 ด้าน คือ

  • หมวดวิชาโยธาและผังเมือง
  • หมวดวิชาการจัดการพลังงาน
  • หมวดวิชาภูมิสารสนเทศ (รีโมทเซนซิง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่)
  • หมวดวิชาการจัดการทรัพยากรการเกษตร

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

บัณฑิตสามารถศึกษาต่อได้ในหลายสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้องกับ 4 หมวดวิชา   คือ

  • หมวดวิชาโยธาและผังเมือง
  • หมวดวิชาการจัดการพลังงาน
  • หมวดวิชาภูมิสารสนเทศ (รีโมทเซนซิง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่)
  • หมวดวิชาการจัดการทรัพยากรการเกษตร

เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมแหล่งน้ำวิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเกษตร เทคโนโลยีพลังงานการจัดการพลังงาน ภูมิสารสนเทศ สถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง เศรษฐศาสตร์ และการบริหารธุรกิจ เป็นต้น

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาสามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ 4 หมวดวิชา คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาสามารถทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ 4 หมวดวิชา คือ 

  • หมวดวิชาโยธาและผังเมือง
  • หมวดวิชาการจัดการพลังงาน 
  • หมวดวิชาภูมิสารสนเทศ (รีโมทเซนซิง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่) 
  • หมวดวิชาการจัดการทรัพยากรการเกษตร 

เช่น พนักงานบริษัท ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาจารย์นักวิชาการหรือนักวิจัยในสถาบันการศึกษาต่างๆ 

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 45 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4482 หรือ 02 564 4440-59 ต่อ 2300
  https://sustain.sci.tu.ac.th/
  STRT – Sustainable Technology of Rural Technology, Thammasat University